
บุคคลธรรมดา (บุคคล, ร้านค้า, ห้างหุ้นส่วนสามัญ) มีหน้าที่ยื่นแบบภาษีที่เกี่ยวข้องต่อกรมสรรพากร แต่ไม่ต้องจัดทำงบการเงินและตรวจสอบบัญชีโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต นิติบุคคลมีหน้าที่จัดทำบัญชี, งบการเงิน และยื่นภาษี ทั้งกับกรมสรรพากรและกระทรวงพาณิชย์ ให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดนอกจากนี้กรมสรรพากรยังกำหนดให้กิจการจักต้องเก็บเอกสารทางบัญชีไว้อย่าง น้อย 5 ปีเพื่อการตรวจสอบหากกิจการไม่มีการจัดทำบัญชีที่ดี กิจการอาจโดนเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตลอดช่วงเวลาที่กฎหมายกำหนด
บุคคลธรรมดา
- จัดทำบัญชี วางแผนภาษีและวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน
- จัดทำและยื่นแบบภาษีทุกประเภท เช่น
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.30)
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด. 90, ภ.ง.ด. 91, ภ.ง.ด. 94) - ตรวจสอบรายงานภาษีซื้อและภาษีขาย
- จัดทำบัญชีคุมสินค้า
- ให้คำแนะนำประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับบัญชีและภาษีอากร
- ให้คำปรึกษา และให้การแนะนำเกี่ยวกับการจัดระบบเอกสารทางการค้าต่างๆเพื่อการควบคุมภายในที่ดี
- แก้ปัญหาประเด็นภาษีอากรเมื่อถูกตรวจสอบจากกรมสรรพากร ฯลฯ
นิติบุคคล
- จัดทำบัญชี วางแผนภาษีและวิเคราะห์งบการเงิน
- จัดทำและยื่นแบบภาษีทุกประเภท เช่น
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.30)
- ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด. 3,ภ.ง.ด. 53)
- ภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด. 50, ภ.ง.ด. 51) - ตรวจสอบรายงานภาษีซื้อและภาษีขาย
- จัดทำงบการเงินนำส่งกรมสรรพากร และกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
- จัดทำบัญชีคุมสินค้า
- ให้คำแนะนำประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับบัญชีและภาษีอากร
- ให้คำปรึกษา และให้การแนะนำเกี่ยวกับการจัดระบบเอกสารทางการค้าต่างๆเพื่อการควบคุมภายในที่
ขั้นตอนการให้บริการ
- ให้คำแนะนำและปรึกษา เกี่ยวกับบัญชีและภาษีอากร
- บันทึกบัญชีและสรุปผลดำเนินงานของกิจการจากเอกสารที่ท่านจัดทำ โดยสำนักงานฯจะจัดส่งพนักงานรับเอกสารไปรับเอกสารจากท่านทุกเดือน
- เพื่อให้สามารถจัดทำบัญชีได้อย่างเป็นปัจจุบันเสมอ
- จัดทำแบบนำส่งภาษี และนำส่งภาษีต่อกรมสรรพากร
- จัดทำงบการเงินประจำปีและจัดหาผู้ตรวจสอบบัญชีอิสระเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของงบการเงินดังกล่าว (สำหรับนิติบุคคล)
- จัดทำแบบนำส่งงบการเงิน แบบนำส่งภาษีเงินได้ประจำปี และนำส่งต่อหน่วยงานราชการ (สำหรับนิติบุคคล)